TBC เข้าร่วมโครงการ “การเตรียมความพร้อมสินค้าส่งออกสหภาพยุโรปเพื่อรับมือกับมาตรการ CBAM”

TBC เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ “การเตรียมความพร้อมสินค้าส่งออกสหภาพยุโรปเพื่อรับมือกับมาตรการ CBAM” ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567
 
 
โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ได้เตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทย ประกอบด้วยกลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย อลูมิเนียม กระดาษ เซรามิก แก้ว พลาสติก ไฮโดรเจน และเคมีภัณฑ์ ด้วยการพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป รวมถึงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับใช้เป็นเครื่องมือคำนวณค่า Embedded Emissions ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินและใช้ประกอบการรายงานให้กับสหภาพยุโรปตามมาตรการ CBAM อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อจัดทำกรอบแนวทางการลดก๊าชเรือนกระจกที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมส่งออกในแต่ละประเภท
 
 
ภายในงานมีการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการฯ จากองค์กรที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 16 องค์กร ทั้งยังมีการบรรยายเกี่ยวกับมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) และแนะนำโครงการเตรียมความพร้อมสินค้าส่งออกสหภาพยุโรปเพื่อรับมือกับมาตรการ CBAM โดย คุณปฐม ชัยพฤกษทล ผู้จัดการอาวุโส สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ TGO และ ผศ.ดร.วรพจน์ กนกกันฑพงษ์ อาจาร์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล เข้ารับพระราชทานโล่ของมูลนิธิขาเทียมฯ

วันที่ 29 มกราคม 2567 บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ได้เข้าร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปยัง มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นองค์ประธานในการประชุมสามัญประจำปี 2567 ของคณะกรรมการมูลนิธิขาเทียมฯ และทรงเปิดนิทรรศการ 30 ปี มูลนิธิขาเทียมฯ
 
ทั้งนี้ คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ได้เข้ารับพระราชทานโล่ของมูลนิธิขาเทียมฯ ในฐานะองค์กรผู้สนับสนุนกิจการของมูลนิธิฯ และรับเข็มที่ระลึกในฐานะผู้สนับสนุน โดยมีคุณกิติยา แสนทวีสุข และคุณวลีทิพย์ พรหโมบล จากหน่วยงาน Sustainability ร่วมรับเข็มที่ระลึกในฐานะผู้สนับสนุนด้วยเช่นกัน
 
 
บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ได้สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิขาเทียมฯ มาตั้งแต่ปี 2548 ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ในโครงการเรียกคืนวัสดุอลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทาน โดยร่วมรณรงค์สู่ภาคสังคมเรื่องการบริจาคอลูมิเนียมใช้แล้วเพื่อสนับสนุนการจัดทำขาเทียมแก่ผู้พิการของมูลนิธิฯ
 
และในปี 2564 บริษัทฯ ได้ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จัดทำโครงการ Recycle for Life “เปลี่ยนขยะเป็นบุญ เมื่อคุณหมุนเวียน เพื่อมูลนิธิขาเทียมฯ” รับบริจาคกระป๋องอลูมิเนียม เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และนำเงินสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ โดยมีเป้าหมายในปี 2566-2567 ในการรวบรวมกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้ว บริจาคให้มูลนิธิฯ เพื่อทำขาเทียมให้ได้ 100 ขาเทียม
 
นอกจากนี้ ในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังสนับสนุนน้ำเปล่าบรรจุกระป๋องให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ ในการให้บริการออกหน่วยจัดทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ทั่วประเทศ เป็นจำนวนกว่า 50,000 กระป๋อง

เปิดสายการผลิตฝาอลูมิเนียม ROPP สำหรับขวดอลูมิเนียม

คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และตัวแทนพนักงาน ร่วมพิธีเปิดสายการผลิตฝาอลูมิเนียม ROPP หรือฝาปิดคลายเกลียว ในวันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 09.19 น. ณ อาคาร Coating Line บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
 
 
ฝาอลูมิเนียม ROPP หรือฝาปิดคลายเกลียว ที่ TBC ผลิตนี้ มีขนาด 38 mm. กำลังการผลิต 1,000 ฝาต่อนาที หรือ 60,000 ฝาต่อชั่วโมง ใช้สำหรับปิดขวดอลูมิเนียม (Aluminium Bottle) ที่ผลิตโดย TBC และขวดแก้ว ซึ่งรองรับการบรรจุได้ทุกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และสามารถพิมพ์โลโก้แบรนด์คลอบคลุมได้ทั้งฝา
 

TBC ร่วมงาน “ความยั่งยืนของบรรจุภัณฑ์เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”

TBC เข้าร่วมงานสัมมนา “ความยั่งยืนของบรรจุภัณฑ์เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Packaging Sustainability Symposium: Embracing the Circular Economy)”
 
 
วันที่ 23 มกราคม 2567 สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย (TBA) จัดงานสัมมนา “ความยั่งยืนของบรรจุภัณฑ์เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Packaging Sustainability Symposium: Embracing the Circular Economy)” โดยสมาคมฯ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ส่งเสริมการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในการสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการนำบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือทำประโยชน์ใหม่เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ ห้องประชุม Regency Ballroom ชั้น 5 โรงแรม Hyatt Regency กรุงเทพมหานคร
 
 
เวทีเสวนาจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “กรอบนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนและประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทยสู่ความยั่งยืน” ประกอบด้วย
– มิติการประเมินวัฏจักรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ (LCA) เพื่อการจัดการของผู้ผลิตอย่างยั่งยืน โดย Prof. Dr. Shabbir H. Gheewala, Professor and Head Life Cycle Sustainability Assessment Lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
– การพัฒนาร่างกฎหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย โดย ดร. สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการแห่งสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– แนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
 
 
นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีการนำเสนองานวิจัย โดย รศ.ดร. ตระการ ประภัสพงษา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Souvik Bhattacharjya (The Energy and Resources Institute, TERI) ซึ่งมุ่งศึกษาข้อดีของการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และเพื่อให้ข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มและผู้ผลิตเครื่องดื่ม ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายเพื่อวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจในการพัฒนานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต ซึ่งงานวิจัยนี้ครอบคลุมการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกระป๋องอลูมิเนียม ขวดพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ขวดแก้ว และกล่องเครื่องดื่ม ตลอดวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ชนิดนั้นๆ

ปฏิทินประจำปี 2567 จากผลงานบุตรหลานพนักงาน TBC

ปฏิทินประจำปี 2567 จากกิจกรรมประกวดวาดภาพระบายสีโดยฝีมือบุตรหลานพนักงาน TBC
 
 
ในช่วงปลายปี 2566 TBC ได้จัดกิจกรรมประกวดวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมให้พนักงานและบุตรหลานมีความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลูกฝังให้มีการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยถ่ายทอดภาพวาดสุดสร้างสรรค์แบบรักษ์โลกลงบนปฏิทินประจำปี 2567
 
 
ที่สำคัญ ปฏิทินทำมาจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในโรงงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้เป็นหนึ่งในต้นแบบของการ Upcycling ตามหลัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy)

เปิดสายการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมที่ 5 และขวดอลูมิเนียม ณ โรงงาน ไทยเบเวอร์เรจแคน 2

วันที่ 25 กันยายน 2566 คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน TBC ได้ร่วมพิธีเปิดสายการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมที่ 5 ณ โรงงาน ไทยเบเวอร์เรจแคน 2 ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม WHA โดยโรงงานแห่งใหม่นี้สามารถทำการผลิตได้ทั้งกระป๋องและขวดอลูมิเนียม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

เบื้องต้นได้เริ่มผลิตกระป๋อง Regular ขนาด 500 ml และขวดอลูมิเนียมชนิด DWI (Drawn and wall-ironed) ที่ลดปริมาณวัสดุอลูมิเนียมให้บางลง แต่ยังคงความแข็งแรง และมีน้ำหนักเบา มาพร้อมรูปทรงทันสมัย 2 ขนาด คือ 310 ml และ 510 ml

พนักงาน TBC ทำกิจกรรมจิตอาสา “School Can Do…หนูทำได้!”

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ตัวแทนพนักงาน TBC ได้ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ที่โรงเรียนวัดลำบัว จ.สระบุรี โดยมีโรงเรียนหนองตะเข้และโรงเรียนวัดคลอง 5 เข้าร่วมด้วย ภายใต้ชื่อโครงการ “School Can Do… หนูทำได้!”
โครงการนี้มีเด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 133 คน ซึ่งกิจกรรมแต่ละฐานได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในโรงเรียนให้กับเด็กนักเรียน อาทิ ทำถังขยะสร้างสรรค์ ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ คุณค่าของขยะแต่ละชิ้น และความแตกต่างของกระป๋องอลูมิเนียมกับกระป๋องเหล็ก บรรยายกาศในกิจกรรมเต็มไปด้วยรอยยิ้มจากเด็กนักเรียน คุณครู ที่ได้ความรู้และความสนุกสนาน
กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน TBC SG 2030 เป้าหมายเพื่อความยั่นยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ BCG Model โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในส่วนกลยุทธ์ด้านการสร้างพลังเพื่อขับเคลื่อนสังคม (Social Impact): Community Engagement-พัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องไปกับเป้าหมายระยะยาวในการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กร ยกระดับการดำเนินธุรกิจมุ่งสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

TBC สนับสนุนน้ำดื่มในกิจกรรมเดิน – วิ่ง “Run for Earth: วิ่งรักษ์โลก” วันสิ่งแวดล้อมโลก

TBC สนับสนุนน้ำดื่มบรรจุกระป๋องอลูมิเนียมในกิจกรรมเดิน – วิ่ง “Run for Earth: วิ่งรักษ์โลก” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายน 2566 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จ.นนทบุรี
ภายใต้แนวคิด “Beat Plastic Pollution รักษ์โลก ลดพลาสติก” ที่รณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกมิติและทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
TBC ยังได้ร่วมจัดบูธให้ความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์กระป๋องอลูมิเนียมที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งใบ ซึ่งได้มีการเชิญชวนให้ผู้ร่วมกิจกรรมทำการบีบอัดกระป๋องอลูมิเนียมที่ดื่มหมดแล้วโดยใช้เครื่องบีบอัดกระป๋อง (Can Crusher) ที่จัดแสดงภายในบูธด้วย

TBC สนับสนุนกระป๋องออมสินและของขวัญสำหรับกิจกรรมวันเด็กให้กับโรงเรียนในเขตเทศบาล อ.หนองแค จ.สระบุรี

วันที่ 11 มกราคม 2566 นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอหนองแค ได้มอบหมายให้ นายรังสรรณ์ ทีภูเวียง และนางสาววราลี ผ่องวุฒิกุล ปลัดอำเภอผู้ประสานงานมอบกระปุกออมสินและอุปกรณ์เครื่องเขียนให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ ต.คชสิทธิ์ ต.ไผ่ต่ำ และ ต.หนองโรง จำนวน 8 แห่ง และ ต.หนองปลิง และ ต.กุ่มหัก จำนวน 4 แห่ง เพื่อร่วมกิจกรรมมอบความสุขให้กับเด็กๆ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566 โดยได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนกระปุกออมสินจาก บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน TBC SG 2030 เป้าหมายเพื่อความยั่นยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ BCG Model โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในส่วนกลยุทธ์ด้านการสร้างพลังเพื่อขับเคลื่อนสังคม (Social Impact): Community Engagement-พัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องไปกับเป้าหมายระยะยาวในการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กร ยกระดับการดำเนินธุรกิจมุ่งสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน